ช่องปิดฝาสี่เหลี่ยมที่หน้ารถ มีไว้ทำไม ?
ช่องปิดฝาสี่เหลี่ยมที่หน้ารถ มีไว้ทำไม เคยสังเกตุไหมคะ เจ้าช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆนี่แหละค่ะตัวช่วยในยามฉุกเฉิน ในการ ลากจูง หลายคนอาจจะไม่รู้ประโยชน์ที่แท้จริง วันนี้โตโยต้ากาญจนบุรีจะบอกประโยชน์ของช่องสี่เหลี่ยมนี้ค่ะ
เจ้าของรถเคยสังเกตุรถของตัวเองไหมคะว่าหน้ารถเราจะมี ช่องปิดฝาสี่เหลี่ยมที่หน้ารถ หรือรถบางรุ่นบางคันจะเป็นลักษณะวงกลมเล็กๆ บางคันจะอยู่บริเวณไฟหน้าข้างใดข้างหนึ่ง บางคันอาจจะอยู่บริเวณกันชนกระจังหน้า หลายคนอาจคิดว่ามันไม่มีประโยชน์อะไร มีไว้สำหรับตกแต่งรถรึป่าว เพื่อความสวยงาม มีไว้ทำไม รู้ไหมคะว่าเจ้านี้แหละตัวช่วยในเวลาเราอยู่ในสถานการณืฉุกเฉินใช้ในการ ลากจูง เช่นอุบัติเหตุรถเชี่ยวหรือมีการขัดข้องที่รถเราไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ วันนี้โตโยต้ากาญจนบุรีจะมาบอกว่ามันคืออะไร และประโยชน์หากเราต้องใช้งานกันค่ะ
จริงๆแล้ว ช่องปิดฝาสี่เหลี่ยมที่หน้ารถ นี้ เราสามารถเปิดช่องสี่เหลี่ยมออกมาได้ค่ะ เมื่อเปิดแล้วสิ่งที่จะเจอคือ “หูลากรถ” มีไว้สำหรับลากรถของเราในยามฉุกเฉิน หรือเกิดอาการขัดข้องต่างๆ เช่น รถเกิดอุบัติเหตุ รถเกิดขัดข้อง ประสบอุบัติเหตุไปต่อไม่ได้ รถตกหล่ม ตกคูน้ำข้างทาง เครื่องยนต์ได้รับความเสียหาย สตาร์ทเครื่องยนต์ไม่ติด เราสามารถเคลื่อนย้ายรถของเราไปเข้าอู่ซ่อมหรือเข้าศูนย์บริการรถได้โดยการใช้หูลากรถนี่แหละค่ะ แต่ถ้าหากการ ลากจูง ที่ผิดวิธีอาจทำให้ระบบส่งกำลังของรถยนต์เสียหายได้
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับต่อพ่วงเพื่อทำการลากจูง โดยทั่วไปแล้วมักใช้เชือกเส้นที่มีขนาดใหญ่ทำการลาก หรือ อาจใช้โซ่สลิงซึ่งในบางครั้งอาจมีการเกิดอุบัติเหตุเชือกขาดจนส่งผลให้รถที่ถูกลากเสียหลักจนเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนขึ้นอีก แต่หากผู้ขับขี่มีลวดสลิงในการชักลากจะมีคุณสมบัติช่วยในการผ่อนแรงได้ดีกว่าเชือกอีกทั้งยังมีความแข็งแกร่งมากกว่า โดยใช้วิธีการนำลวดสลิงมาเกี่ยวกับตะขอบริเวณช่วงล่างของรถ หรือ หูลากที่มีลักษณะเป็นช่องสี่เหลี่ยมดังกล่าวมาข้างต้นซึ่งรถจะเชิดหน้าขึ้นทำให้สามารถ ลากจูง ได้โดยง่าย
ทั้งนี้ผู้ที่ขับรถคันที่ใช้สำหรับ ลากจูง ไม่ควรที่จะใช้ความเร็วสูงในขณะทำการลาก เนื่องจากหากลากรถโดยใช้ความเร็วสูง ผู้ขับขี่รถคันที่ถูกลากจะประคองรถได้ยาก อีกทั้งในกรณีที่มีการเบรกกะทันหันขึ้นอาจทำให้รถคันที่ถูกลากมาปะทะเข้ากับรถลากได้อีกเช่นกัน นอกจากนี้แล้วควรเช็คระบบเบรกของรถคันที่นำมาชักลากว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานหรือไม่ เพราะหากสภาพเส้นทางเป็นภูเขาสูงชัน เมื่อรถที่ใช้ลากจูงเกิดแบกน้ำหนักไม่ไหวอาจถอยลงมาชนกับรถคันที่ถูกลากจูงได้
โดยใช้พ่วงเชือกหรือสลิงกับท้ายรถที่มาลาก
ส่วนการ ลากจูง นั้น ควรลากช้า ๆ ในระยะทางไม่เกิน 30 กม. ต้องใช้ความเร็วไม่เกิน 40 กม./ชม. แต่ถ้าจุดหมายอยู่ไกลกว่านั้น ต้องหยุดพักอย่างน้อย 15 นาที แล้วจึงลากต่อจนถึงศูนย์บริการเพื่อซ่อมแซมต่อไป กรณีเป็นรถเกียร์ธรรมดา สามารถเข้าเกียร์ว่าง (N) ตามปกติ แล้วจึงลากจูงได้โดยไม่สร้างความเสียหายกับระบบส่งกำลังแต่อย่างใด
แต่ถ้ารถเสียแล้วต้องยกล้อยกลอยจำเป็นต้องใช้รถลากที่ใช้สำหรับลากรถโดยเฉพาะ เพื่อไม่ให้ล้อที่เคลื่อนสัมผัสกับถนน เพราะถ้าล้อที่เคลื่อนที่จากการหมุนอาจจะทำให้เพลา ลูกปืนจะชิ้นส่วนต่างๆของรถในระบบส่งกำลังทำให้เกิดความร้อนจากการเสียดสี ยิ่งทำให้รถของเราเสียหายเพิ่มขึ้น และในกรณีรถเกียร์ออโต้และเกียร์ CVT ควรใส่เกียร์ว่าง เมื่อต้องทำการ ลากจูง
ส่วนข้อควรระวังคือ หูลากจูง ถูกออกแบบมาให้ใช้งานชั่วคราวเพื่อให้รอดจากอุปสรรคซึ่งหน้าเท่านั้น ถ้าหากเกิดกรณีที่ต้องลากรถไปไกล ๆ เพื่อไปซ่อมหรือเข้าศูนย์บริการที่อยู่ไกล ๆ อาจจะใช้บริการรถยกหรือรถสไลด์จะปลอดภัยมากกว่าค่ะ
บทความต่างๆที่อาจจะช่วยคุณได้เมื่อรถเสียค่ะ
หากลูกค้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับรถยนต์ ทางศูนย์โตโยต้ากาญจนบุรี ยินดีให้คำแนะนำ