จอดรถ ในที่จอดรถ”คนพิการ” ผิดกฎหมายหรือไม่?!
วันนี้โตโยต้ากาญจนบุรี จะพาไปหาคำตอบว่า กาตีเนียนเข้าไปจอดรถ ที่จอดรถคนพิการ ผิดกฎหมายหรือไม่ ?
ปัจจุบันเราจะพบเห็น ที่จอดรถคนพิการ คนชรา ตามสถานที่ต่างๆ เนื่องจากตามระเบียบข้อบังคับของกฎกระทรวงว่าด้วยที่จอดรถ ระบุต้องกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร สำหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ.2548 หมวด 4 ว่าด้วยเรื่อง ที่จอดรถ ระบุให้สถานที่สาธารณะต่างๆ เช่นห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ฯลฯ ต้องมี ที่จอดรถสำหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และคนชรา ใกล้ทางเข้าออกอาคารให้มากที่สุด พร้อมติดตั้งสัญลักษณ์ของผู้พิการ ไว้อย่างชัดเจน
ตามเจตนารมณ์ของกฎกระทรวงต้องการให้คนทุกคนทีความเสมอภาคในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะผู้ที่หย่อนความสามารถในการดูแลตัวเอง (ผู้พิการ, คนชราภาพ และผู้ทุพลภาพ) ให้บุคคลเหล่านี้สามารถอยู่ในสังคมได้ด้วยความเสมอภาค แต่เราก็มักจะเห็นพฤติกรรมของคนอวัยวะครบ 32ปกติ จอดรถในช่องสำหรับ จอดรถคนพิการ คนชราอยู่บ่อยๆ เช่นกัน แน่นอนว่าการที่คนปกติแย่ง ที่จอดรถ สำหรับคนพิการเป็นสิ่งทีไม่ควรทำ เป็นการเบียดเบียนสิทธิ์ที่คนพิการควรได้รับ เเล้วเรืองนี้ผิดกฏหมายด้วยหรือไม่?
ในประเทศไทยไม่มีกฎหมายรองรับการจอดรถใน ที่จอดรถสำหรับคนพิการ คนชรา ผิดกฏหมาย เนื่องจากเครื่องหมายที่จอดสำหรับคนพิการไม่ใช่เครื่องหมายห้ามจอด แต่ถ้าหากเป็นที่ๆ ห้ามจอด มีป้ายหรือสัญลักษณ์จราจรห้ามจอดชัดเจนตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 57 หากฝ่าฝืนจอดก็จะมีความผิดตามกฎหมายมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
แม้การจอดรถใน ที่จอดรถคนพิการ คนชรา จะไม่ผิดกฏหมาย แต่ด้วยสามัญสำนึกของคนที่มีร่างกายปกติก็ไม่ควรมักง่ายเห็น ที่จอดรถคนพิการ คนชรา ว่างก็ตีเนียนนำรถเข้าไปจอด หรือหากพบเห็นคนปกติจอดรถใน ที่จอดรถ คนพิการ คนชรา ควรเเจ้งเจ้าหน้าที่อาคาร สถานที่ เพื่อย้ายรถคันดังกล่าวออกจาก ที่จอดรถคนพิการ คนชรา ทันที
ในแง่หนึ่งอาจจะต้องยอมรับว่าคนพิการที่ใช้รถยนต์ขับไปไหนมาไหนเอง มีจำนวนไม่ได้มากมายนักในประเทศไทย และเราหลายคนอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนว่า คนพิการบางกลุ่มได้รับอนุญาตให้ขับรถได้ ทำให้กลายเป็นการสบช่องโอกาสของ บรรดาผู้ที่มีอันจะกินที่บ้างได้รับอำนวยความสะดวกจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเอง หรือบ้างถือวิสาสะในการใช้บริการช่องคนพิการด้วยความสะดวกที่มักอยู่ใกล้ทางเข้าทางออก
แต่อีกแง่หนึ่ง ที่น่าคิดก็คือว่า บางที่รถยนต์หรูทีเราเห็นอาจจะเป็นการอำนวยความสะดวกกับคนพิการในครอบครัว แม้ว่า คนขับจะไม่ได้พิการ แต่ผู้โดยสารที่เดินทางมาด้วยหรือไม่สมประกอบ อาจจะไม่ถึงขนาดต้องนั่งรถเข็นวีลแชร์ แต่แค่เดินเหินไม่สะดวก ตามแบบคนแก่อายุมาก บกพร่องทางร่างกายจะนับเป็นคนพิการหรือไม่
ในแง่หนึ่ง ทางด้าน นาย ศุภชีพ ดิษเทศ นายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ได้เคยเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ช่วงเดือนเมษายน โดยยอมรับว่า ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่อาจจะเป็นกระแสสังคมที่เพิ่งถูกกล่าวถึงมากขึ้น ด้วยความต้องการของผู้พิการที่จะเรียกร้องสิทธิคืนมา
ตามการอธิบายของ นายกสมาคมเผยว่า ช่องจอดสำหรับคนพิการนั้น มี 2 แบบ ที่สำคัญ คือ หนึ่ง โลโก้สีน้ำเงินกรอบสีขาว มีสัญลักษณ์คนนั่งวีลแชร์สีขาวบนพื้น เป็นที่จอดสำหรับผู้พิการทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้ขับขี่ หรือ ผู้โดยสารเอง ตลอดจนผู้สูงอายุยังอนุโลมให้ใช้ช่องดังกล่าวได้เพื่ออำนวยความสะดวก
แต่ช่องจอดอีกแบบนั้น จะเป็นช่องจอดที่ใช้กรอบสีขาวพร้อมแถบสีเหลือง หมายถึง ที่จอดรถ สำหรับผู้พิการที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องใช้รถเข็นช่วยในการเดินทาง เป็นที่ซึ่งห้ามโดยเด็ดขาดไม่ให้ผู้พิการเข้าใช้
ส่วนเรื่องว่าคนพิการที่ขับรถได้มีจำนวนเท่าไร ยังไม่มีใครระบุได้ชัด แม้แต่นายกสมาคมคนพิการ ยังประมาณว่าจากผู้ที่ลงทะเบียน 1 ล้านคน น่าจะมีคนที่ขับได้ สักราวๆ 2-3 หมื่นคน
ยิ่งไปกว่านั้นในบางกรณี หากผู้ขับขี่ที่เป็นคนปกติธรรมดาเกิดได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย แต่ยังสามารถขับรถได้ตามปกติ เพียงต้องการใช้ช่องจอดคนพิการ ชั่วคราวในยามที่เขาทำกิจกรรมขับรถไม่สะดวกนั้น มันจะเป็นไปได้หรือไม่ และจะมีข้อกำหนดอะไร นอกจากที่เรามักพูดว่า “สามัญสำนึก”
บทความเกี่ยวกับ ที่จอดรถ มีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ
หากลูกค้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับรถยนต์ ทางศูนย์โตโยต้ากาญจนบุรี ยินดีให้คำแนะนำ