รับมือเมื่อ ยางรั่ว แตก แบน
ยางรั่ว ? หากขับรถเเล้วเหยียบของมีคมทำให้ยางรั่ว ยางแตก ยางแบนแล้ว หากเกิดเหตุแบบนี้ขึ้นจะทำอย่างไร ดึงออกเลยหรือไม่ วันนี้โตโยต้ากาญจนบุรีจะพาไปดูวิธีดูแลเบื้องต้นหลังเกิดเหตุสุดวิสัยขึ้น
ยางรั่ว เพราะอะไร
แม้ชื่อของปัญหาจะเรียกว่า ยางรั่ว แต่สาเหตุการรั่วของลมยางสามารถมาได้จากทั้งที่ตัวยางเองและที่ล้อ โดยมักมีลักษณะของปัญหาที่แตกต่างกัน
– ถูกตะปูหรือวัสดุแหลมคมทิ่มตำ แน่นอนว่าปัญหาหลักๆ ของยางรั่วมักเกิดขึ้นที่ตัวยาง โดยมาจากการชำรุดหรือเกิดแผลที่ยาง และสาเหตุหลักอันดับต้นๆ ที่ทำให้ยางรั่วก็คือถูกตะปูหรือวัสดุที่แหลมคมบนถนนทิ่มตำที่หน้ายางหรือแก้มยาว โดยรูเล็กๆ บนยางจากการถูกตำจะสามารถทำให้ลมรั่วออกจากยางได้ถึง 2-3 psi ต่อวัน แต่หากสิ่งของที่แหลมคมนั้นยังทิ่มค้างอยู่ในยาง การรั่วของยางก็จะไม่รุนแรงนัก แต่ก็อย่านิ่งนอนใจเพราะควรนำสิ่งที่ทิ่มนั้นออกจากยางและแก้ไขปัญหาต่อไป
– ขอบยางชำรุด อีกปัญหาที่ยางซึ่งทำให้ลมรั่วออกจากยางมากกว่าปกติคือความเสียหายที่ขอบยางในส่วนที่อยู่ใต้ล้อ ซึ่งทำให้ซีลระหว่างยางกับล้อไม่สนิท นอกจากนี้ ยาง ที่มีอายุการใช้งานนานหรือถูกผลิตออกมานานก็ยังทำให้ขอบยางมีความอ่อนตัวลงและเกิดการรั่วได้ รวมถึงแม้มีวัสดุขนาดเล็กแทรกอยู่ระหว่างขอบยางและล้อก็สามารถเป็นช่องทางทำให้ลมออกจากยางได้
– ความเสียหายที่แก้มยาง การขับรถผ่านหลุมลึกหรือเบียดขอบทางจนอาจทำให้เกิดการผิดรูปที่แก้มยางสามารถทำให้ลมยางรั่วได้
– แกนวาล์วหรือจุ๊บลมชำรุด นอกจากที่ยางแล้ว สาเหตุยางรั่วยังมาจากที่ล้อได้ด้วย โดยปัญหาหนึ่งจากล้อก็คือ ฝาปิดจุ๊บเติมลมยางเก่าและชำรุดจากการใช้ไปนานๆ แล้วสัมผัสกับสารเคมีหรือสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เสื่อมสภาพ ซึ่งการที่ฝาปิดจุ๊บเติมลมชำรุดหรือหายไปโดยไม่รู้ตัวหรือรู้แล้วแต่ไม่สนใจจะหามาปิดเหมือนเดิม สามารถทำให้กรวด น้ำ หรือสิ่งต่างๆ ที่มีขนาดเล็กเข้าไปที่จุ๊บเติมลมแล้วทำให้วาล์วภายในซึ่งป้องกันลมออกเสียหาย จนเกิดการรั่วได้
– ล้อคดหรือเบี้ยว ล้ออาจมีการสูญเสียรูปทรงกลมที่สมบูรณ์จากสาเหตุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสึกกร่อน หรือการกระแทกอย่างรุนแรงจนคดหรือเบี้ยวได้ ซึ่งโดยปกติแล้วการสึกกร่อนมักเกิดขึ้นในบริเวณที่ติดกับยางจึงทำให้เกิดการรั่วของลม ในขณะที่ล้อซึ่งคดจะทำให้เกิดการสั่นของรถซึ่งสามารถเป็นสาเหตุให้เกิดการชำรุดของขอบยาง ที่เป็นสาเหตุของการรั่วซึมได้
• ข้อแนะนำ
1. กรณีมีชุดปะยางฉุกเฉิน
อุปกรณ์ติดท้ายรถที่มาแทนยางอะไหล่ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ สะดวกรวดเร็ว เพียงแค่ประกอบกระปุกน้ำยาเข้ากับปั๊มลมไฟฟ้า แล้วนำไปต่อกับจุ๊บลมของยางที่รั่วซึม จากนั้นก็ต่อสายไฟของเครื่องปั๊มลมไฟฟ้าเข้ากับช่องจุดบุหรี่ในรถแล้วก็เปิดสวิทช์ น้ำยาก็จะเข้าไปเคลือบด้านในของยาง อุดรูรั่วจนสามารถขับต่อไปถึงร้านปะยางได้อย่างปลอดภัย
2. กรณี ยางรั่ว และมียางอะไหล่ สำรอง
หากว่า ยางรั่วยังไม่แบนมากให้ค่อยๆ ขับช้าๆ หลบเข้าข้างทาง แล้วทำการเปลี่ยนยางอะไหล่ ซึ่งต้องศึกษาขั้นตอนและข้อควรระวังในการเปลี่ยนยาง ตำแหน่งการขึ้นแม่แรง และตำแหน่งเก็บเครื่องมือต่างๆ จากหนังสือคู่มือประจำรถ เพราะหลายคนตั้งแต่ออกรถมาอาจยังไม่เคยเปิดเครื่องมือประจำรถเลยค่ะ หลังจากเปลี่ยนเป็นยางอะไหล่แล้วให้ค่อยๆ ขับรถไปร้านปะยางด้วยความระมัดระวัง ข้อแนะนำอย่าลืมตรวจเช็กแรงดันลมยางอะไหล่อยู่เป็นประจำ ซึ่งอาจเติมให้แรงดันสูงกว่าค่ามาตรฐานประมาณ 5 ปอนด์ค่ะ
3. กรณีไม่มีอุปกรณ์ใดๆ เลย
ถ้ายางรั่วแต่ยังพอมีลมเหลืออยู่ในระดับที่กระทะล้อไม่บดไปกับพื้นถนน ควรขับเคลื่อนไปช้าๆ ประคองให้ถึงร้านปะยางที่ใกล้ที่สุด โดยบังคับพวงมาลัยช้าๆ แต่มั่นคง เบรกอย่างระมัดระวังและเบาที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ถ้าลมยางออกจนหมดไม่แนะนำให้ฝืนขับต่อเพราะอาจทำให้ยางและกระทะล้อเสียหาย
ที่มา : https://www.facebook.com/eTOYOTACLUB/
และถ้าหากไม่อยากมีปัญหาในระหว่างเดินทาง เราไปดูสัญญาณเตือนของรถ ว่าควรเปลี่ยน ยาง เมื่อใดในคลิปวิดิโอด้านล่างได้เลยนะคะ
บทความเกี่ยวกับลมยาง