5 ของเหลวในรถ ที่ต้องดูแล !
เพราะของเหลวนั้นเปรียบเหมือน เส้นเลือดที่คอยหล่อเลี้ยงให้ทุกอย่างในเครื่องยนต์นั้นทำงานได้อย่างปกติ รวมถึง ใช้ในการทำความสะอาดเฉพาะด้านในจุดที่ต้องการ วันนี้โตโยต้ากาญจนบุรีจะไปไปดูกันนะคะว่า 5 ของเหลวมีอะไรบ้าง
1. ระดับน้ำในกระป๋องน้ำล้างกระจก
เราไม่ควรปล่อยให้น้ำแห้ง เพราะพลาสติกของตัวกระป๋อง เมื่อได้รับความร้อนจากเครื่องยนต์ อาจจะทำให้กรอบ แตก และเสื่อมสภาพเร็ว จึงจำเป็นต้องมีน้ำอยู่ตลอดเวลา ควรใช้น้ำสะอาดในการเติม เช่น น้ำประปา ไม่ควรใช้น้ำบาดาล เพราะถ้าน้ำไม่สะอาดอาจทำให้เกิดตะกอน ไปอุดตันหัวฉีด นอกจากนั้นควรใส่น้ำยาล้างกระจกเข้าไปด้วย เพื่อเป็นการช่วยยืดอายุของยางปัดน้ำฝน และเคลือบกระจก โดยเติมน้ำยาล้างกระจกกับน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1:1
2. ระดับน้ำหล่อเย็นในกระป๋องพักน้ำ
มี 2 ระบบ คือ ระบบปิด กับ ระบบเปิด
- ระบบปิด เช่น เครื่องดีเซล ถังน้ำหม้อพักจะมีฝาปิด ที่เป็นเกรียว ข้อดีคือ จุดเดือดจะอยู่สูงกว่าระบบเปิด การตรวจระดับน้ำ ต้องตรวจตอนเครื่องเย็นเท่านั้น ไม่สามารถตรวจตอนเครื่องร้อนได้ น้ำหล่อเย็นควรอยู่ในระดับ Row กับ Full เช่นเดียวกัน ถ้าน้ำอยู่ในระดับ Row เมื่อเติมไปไม่นานจากที่เราตรวจเช็ค แสดงว่าอาจเกิดการรั่วในระบบ ถ้าเกิดการรั่ว เราใช้น้ำยาที่มีสี จะทำให้ง่ายต่อการสังเกต…
- ระบบเปิด เช่น รถเก๋ง รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ฝาหม้อน้ำแล้วถังพักน้ำจะมีสายยาง พร้อมกับฝาเปิด ใช้เป็นตัวล็อคธรรมดา ในระบบเปิด น้ำจะมีโอกาสระเหยได้ ระดับที่ลดลงของระบบนี้จะลดลงได้เร็วกว่าระบบปิด เมื่ออยู่ในสภาวะหล่อเย็น ระดับที่น้ำหล่อเย็นควรอยู่คือ Full กับ Row เพราะเวลาที่เราใช้งานเครื่องยนต์อยู่ในอุณหภูมิสูง น้ำหล่อเย็นจะเกิดการขยายตัว ถ้าเราเติมน้ำเต็มเกินไปน้ำจะไม่มีที่ขยายตัว ทำให้เกิดการดันน้ำทิ้งออกไป เวลาตรวจระดับ ควรตรวจในอุณหภูมิ ปกติ (เครื่องเย็น) ตรวจสอบอาทิตย์ 1 ครั้ง
3. น้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์
เราต้องติดเครื่องยนต์ทุกครั้งก่อนการตรวจเช็คน้ำมันพาวเวอร์ ควรใช้น้ำมันพาวเวอร์ตามเบอร์ ตามที่คู่มือรถกำหนดมา ไม่ควรใช้น้ำมันที่ต่างเกรดกัน เพราะคุณสมบัติของพวงมาลัยแต่ละรุ่นต่างกัน ให้ตรวจสอบเรื่องสภาพสีของน้ำมันว่าผิดปกติไปจากเดิมไหม ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีสีแดงใส ถ้ามีสีคล้ำ อาจจะมีน้ำมันหล่อลื่นชนิดอื่นรั่วไหลเข้ามาปะปนกับน้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์นะคะ
*** พวงมาลัยรถ ที่ใช้น้ำมันไฮโดรลิค เราไม่ควรหมุนพวงมาลัยเพาเวอร์ขณะรถจอดนิ่งๆ เพราะอาจะทำให้แรงกดที่กระทำกับยางและตัวรถเยอะ จะทำให้พวงมาลัยทำงานหนัก อาจทำให้ยางรองเกิดการรั่วได้ง่ายขึ้น และจะทำให้ยางเกิดการสึกหรอไวขึ้น ****
4. ระดับน้ำมันเครื่อง
ให้ติดสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ถึงอุณหภูมิทำงาน (สังเกต หน้าปัดแสดงอุณหภูมิหม้อน้ำหล่อเย็นจะถึงขีดกลาง (รุ่นเข็ม)/ ไฟธงจะดับไป (รุ่นสัญลักษณ์) ) และดับเครื่องยนต์ประมาณ 1 นาที จึงสามารถตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องยนต์ได้ เราควรจอดในพื้นที่ที่เป็นแนวราบไม่เอียง วิธีการวัดคือ ดึงก้านวัดออกมา แล้วเช็คให้สะอาด จึงใส่เข้าไปใหม่ แล้วดึงขึ้นมา น้ำมันเครื่องควรอยู่ในระดับตรงกลาง ของขีดบนและขีดล่าง
5. เช็คระดับน้ำมันเบรค
น้ำมันเบรคจะอยู่ในระดับ Min กับ Max ไม่ควรให้อยู่ในระดับต่ำมากเกินไป เราควรตรวจสอบสี หากมีสีคล้ำ อาจทำให้คุณสมบัติของน้ำมันเบรคลดลง จะทำให้รถเกิดอาการเบรคยุบ เบรคไม่อยู่ หรือเบรคแตกได้ การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ควรเปลี่ยนที่ระยะ 40,000 กม. หรือ 1 ปีครึ่ง ถึง 2 ปี
น้ำมันเกียร์ เราควรตรวจสอบหรือเปลี่ยนเมื่อจำเป็น ควรรักษาระดับให้อยู่กึ่งกลาง อย่าให้ต่ำเกินไป
ของเหลวที่เราควรดูแลสม่ำเสมอ
หากลูกค้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับของเหลวในรถยนต์ต่างๆหรือต้องการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ ทางศูนย์โตโยต้า กาญจนบุรี ยินดีให้คำแนะนำ
โดยสามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 034-540-789
คุณสามารถติดตามข่าวสารดีๆเกี่ยวกับรถได้แบบฟรีๆ ที่
Line@ Click > > @toyotakan1995
หากบทความนี้ดีมีประโยชน์ อย่าลืมกดปุ่มแชร์ด้านล่างให้เพื่อนๆของคุณกันนะคะ !